สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด


บริษัท สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด 
(ในพระบรมราชูปถัมภ์)




ประวัติ ในปี พ.ศ.2502 เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือกับเกษตรชั้นนำที่ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ตามคำเรียกร้องขอให้ทางราชการไปดำเนินการผสมเทียมโคในท้องถิ่นนี้ ซึ่งจากการหารือ และพิจารณาแล้วกรมปศุสัตว์จึงได้ตกลงเปิดสถานีผสมเทียมขึ้น ณ ตำบลหนองโพ เป็นสถานีผสมเทียมแห่งที่ 3 ของประเทศ โดยเริ่มทำการผสมเทียมโคเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2502


    เมื่อสถานีผสมเทียมโคได้จัดตั้งขึ้นแล้วนั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2511 ทางราชการได้สนับสนุนการเลี้ยงโคนมขึ้นปรากฏว่าได้รับความนิยมจากราษฏรมากขึ้น จนมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในเขตจังหวัดราชบุรีและจังหวัดนครปฐมเพิ่มมากขึ้นจึงเริ่มประสบปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับสถานที่จำหน่ายน้ำนมดิบที่รีดได้จากแม่โคนม



     เบื้องต้นกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเหล่านี้ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.2512 เพื่อขอพระราชทานความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว เมื่อความได้ทราบถึงพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงได้พยายามที่จะหาทางช่วยเหลือ ซึ่งในช่วงนั้นพอดีกับที่พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงงานผลิตนมผงขึ้น ที่ภายในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต จึงมีการหารือกันในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องว่าควรจะมีการสร้างโรงงานผลิตนมผงขึ้นที่ตำบลหนองโพจนกระทั้งในปี พ.ศ.2513 นายทวิช กลิ่นประทุม (สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดราชบุรีสมัยนั้น) ได้จัดซื้อที่ดินบริเวณตำบลหนองโพจำนวน 50 ไร่ ทูลเกล้าฯถวายพร้อมด้วยเงินจำนวน 1,000,000 บาท






ในระหว่างการก่อสร้างโรงงานผลิตนมผงกลุ่มผู้นำเกษตรกรตำบลหนองโพและเขตใกล้เคียงได้ขอความช่วยเหลือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดราชบุรีในขณะนั้นคือนายจรูญ วัฒนากรให้ช่วยติดต่อหาผู้รับซื้อน้ำนมดิบจนกระทั้งได้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตกลงเป็นผู้รับซื้อ โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรวมกลุ่มจัดตั้งศูนย์รวมนมหนองโพขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2513 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางราชการและทุนของกลุ่มเกษตรกรเป็นทุนในการก่อสร้างอาคารศูนย์รวมน้ำนม





     และต่อมาเกษตรกรสมาชิกของศูนย์รวมนมหนองโพจำนวน 185 คนได้เข้าชื่อกันจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2514 โดยใช้ชื่อ “สหกรณ์โคนมราชบุรีจำกัด” เป็นสหกรณ์ประเภทบริการ โรงงานผลิตนมผงสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2515 ได้รับพระราชทานชื่อ“โรงนมผงหนองโพ” โดยให้บริหารงานในรูปบริษัทจำกัดใช้ชื่อว่า"บริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพจำกัด" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือหุ้นใหญ่ของบริษัทและได้รับพระราชทานเงื่อนไขไว้ด้วยว่าบรรดาเงินกำไรสุทธิที่คณะกรรมการบริษัทหาได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้นไม่มีการแบ่งกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นแต่ให้บริษัทนำกำไรสุทธิส่วนหนึ่งเข้ากองทุนสะสมเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของบุตรธิดาสมาชิกของกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมและสมาชิกสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้ส่งน้ำนมดิบให้แก่โรงงานเป็นประจำ




     ต้นปีพ.ศ.2516 ได้มีการเริ่มต้นผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ขึ้นเป็นครั้งแรกและในวันที่ 25 ธันวาคมปีเดียวกันสหกรณ์โคนมราชบุรีจำกัดได้ขอจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น “สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรีจำกัด” จัดเป็นสหกรณ์ประเภทการเกษตร ประมาณกลางปีพ.ศ.2517 คณะกรรมการบริหารผลิตภัณฑ์นมหนองโพจำกัดได้พิจารณาเห็นว่าการผลิตนมผงด้วยเครื่องจักรที่มีอยู่ในขณะนั้นไม่มีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจต้นทุนแพงมากอีกทั้งผลิตภัณฑ์นมที่ผลิตได้ยังไม่ถูกหลักมาตรฐานสากลนักประกอบกับการเลี้ยงโคนมในเขตตำบลหนองโพและเขตใกล้เคียงได้แพร่หลายเป็นอันมากทำให้ปริมาณน้ำนมดิบเริ่มสูงขึ้นเป็นลำดับจึงควรเตรียมการแก้ปัญหาเหล่านี้ไว้ล่วงหน้าคณะกรรมการบริษัทจึงมีมติให้สร้างโรงงานผลิตนมหลังใหม่ขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับโรงงานนมผงเดิมโดยกู้เงินจากบริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำนวน 8,000,000 บาทเพื่อเป็นค่าก่อสร้างค่าจัดซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ใหม่
     ต่อมาเมื่องานของสหกรณ์ฯเจริญก้าวหน้าตามวัตถุประสงค์สมาชิกของสหกรณ์ฯต่างมีความเข้าใจในหลักสหกรณ์และดำเนินกิจการของสหกรณ์ฯได้ดีถูกต้องตามหลักของสหกรณ์และมีหลักฐานมั่นคงแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้โอนทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพจำกัดพร้อมด้วยโรงงานผลิตนมผงให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรีจำกัดตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคมพ.ศ.2518 เป็นต้นมาและนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับไว้ให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อรวมกิจการเข้าด้วยกันแล้วสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรีจำกัดได้ย้ายสถานที่ทำการมาอยู่ในบริเวณโรงงานนมผงของบริษัทเดิม



การก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรในโรงงานผลิตนมหลังใหม่ได้ต่อเนื่องมาในระยะที่โอนกิจการดังนั้นสหกรณ์โคนมหนองโพฯ จึงได้รับภาระการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรมาดำเนินการต่อหลังจากที่ได้รับโอนกิจการมาแล้วโดยในปี พ.ศ.2519 สหกรณ์โคนมหนองโพฯได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจำนวน 8,000,000 บาท มาดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตนมดังกล่าวจนกระทั้งการก่อสร้างมาแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2520

     อาคารโรงงานผลิตนมหลังนี้มีชื่อว่า “อาคารเดชสหกรณ์ม.ล.เดชสนิทวงศ์” เพื่อเป็นที่ระลึกแด่ ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ผู้เป็นประธานกรรมการบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพจำกัดซึ่งเป็นผู้ที่อุทิศกำลังใจและกำลังกายดำเนินการอย่างดีที่สุดสมดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้วางพระทับให้เป็นผู้แทนพระองค์และเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีไปทรงเปิดอาคารหลังนี้และเยี่ยมชมกิจการของสหกรณ์โคนมหนองโพฯ

     หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเอาพระทัยใส่ในกิจการและทุกข์สุขของสมาชิกสหกรณ์โคนมหนองโพฯ อย่างต่อเนื่องกล่าวคือในปี พ.ศ.2521 ได้พระราชทานเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวายจำนวน 129,000 บาทเศษ เพื่อจัดตั้งมูลนิธิพระบารมีปกเกล้า(ในพระบรมราชูปถัมภ์) จุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่บุตรหลานสมาชิกต่อมาได้มีการดำเนินการก่อสร้างอาการพิพิธภัณฑ์โคนมหนองโพจากแนวพระราชดำริที่จะให้จัดหาสถานที่ซึ่งเป็นที่จัดเก็บรวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตนมในอดีตเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ใช้เป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมพร้อมกันนั้นได้พระราชทานเงินซึ่งมีผู้ทูลเกล้าฯถวายจำนวน960,000บาท เพื่อใช้เป็นทุนสำหรับการก่อสร้างซึ่งสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2531 ได้รับพระราชทานชื่อว่า “อาคารเทพฤทธิ์เทวกุล”

     ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณทางสหกรณ์โคนมหนองโพฯ ได้ทูลเกล้าฯถวายหุ้นแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจำนวน 45,999 หุ้น หุ้นละ 100 บาทเป็นมูลค่า 4,599,900 บาทในปีพ.ศ.2533 และต่อมาในวันที่ 1 กรกฎาคมพ.ศ.2534 สำนักพระราชวังได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับดอกผลของหุ้นทูลเกล้าฯ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรด

     ปัจจุบันสหกรณ์โคนมหนองโพฯได้ดำเนินกิจการมาเป็นเวลากว่า 43 ปีแล้ว ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางสหกรณ์โคนมหนองโพฯ ได้ดำเนินกิจการมาตามแนวพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยตลอดสหกรณ์โคนมหนองโพฯสามารถผลิตผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์และผลิตภัณฑ์นมยู.เอช.ที. จำหน่ายไปได้ทั่วประเทศโดยมีกําลังผลิตเพียงพอที่จะรองรับกับปริมาณน้ำนมดิบที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในเขตตำบลหนองโพและใกล้เคียงผลิตได้ ทำให้เกษตรกรไม่มีปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องสถานที่จำหน่ายน้ำนมดิบเมื่อประกอบกับการดำเนินงานในรูปสหกรณ์ที่ผลประโยชน์ต่างๆส่วนใหญ่จะตกอยู่กับสมาชิกแล้วนับได้ว่าสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) คือทางออกของการแก้ไขปัญหาความ เดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้อย่างแท้จริงสมดังพระราชปรารถนาและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งพระราชทานแก่คณะกรรมการดำเนินงานสร้างโรงงานนมผงณพระตำหนักจิตรลดารโหฐานวันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2513 มีความบางตอนว่า
    “เมื่องานของสหกรณ์โคนมเจริญก้าวหน้าตามวัตถุประสงค์สมาชิกสหกรณ์ต่างมี ความเข้าใจใน หลักสหกรณ์และดำเนินกิจการสหกรณ์ได้ดีถูกต้องตามหลักของสหกรณ์ และมีหลักฐานมั่นคง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนทรัพย์สินทั้งหมดของ บริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จำกัด พร้อมด้วยโรงงานให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสหกรณ์ดำเนินกิจการในรูปสหกรณ์ต่อไปตามพระราชประสงค์”...

 เกี่ยวกับเรา


วิสัยทัศน์ พันธกิจ
ประธานกรรมการสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์)
            รองประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด  
วิสัยทัศน์   
จะบริหารงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ให้ผลประกอบการเจริญก้าวหน้า  ทำให้สหกรณ์มีความมั่นคง สมาชิกก็อยู่ดีกินดี
พันธกิจ
            1. ส่งเสริมพัฒนาเกษตรกรได้ผลิตน้ำนมดิบที่มีคุณภาพ
            2. พัฒนาระบบภายในสหกรณ์ให้ได้มาตรฐานสากล
            3. ยึดหลักการบริหารสหกรณ์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


แผนผังการจัดการองค์กร


 รูปที่  1   แผนผังองค์กร


รูปที่  2   แผนผังองค์กร


รูปที่  3   แผนผังองค์กร

หน้าที่ ปัญหา และการแก้ปัญหาของแต่ละแผนก มีดังนี้

ฝ่ายงานบริหาร
แผนกบัญชี  มีหน้าที่ดังนี้
- ควบคุมดูแลงานด้านการบริหารงานบัญชีและการเงิน รายรับ-รายจ่ายของบริษัท
- ควบคุมยอดทางด้านงบการเงิน วิเคราะห์งบการเงินในแต่ละเดือน
- ควบคุมดูแลจัดทำงบลงทุน งบกำไรขาดทุน งบดุล และปิดงบการเงิน 
- เบิกจ่ายรายจ่ายที่จัดสรรแล้วให้แก่แผนกต่างๆ
- ควบคุมอนุมัติรายจ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้จัดสรรไว้
ปัญหาของแผนกบัญชีคือ
1. อาจเกิดข้อผิดพลาดในการคิดบัญชีรายรับ รายจ่ายได้
2. ข้อมูลอาจเกิดการผิดพลาดได้ถ้าเอกสารไม่ถูกต้องหรือเอกสารสูญหายเพราะเอกสารมีจำนวนมากและไม่มีการจัดเก็บให้เป็นระเบียบ
3. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร  เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
4. รายงานทางการเงินที่ทำโดยมือจะทำให้เข้าใจได้ยาก เนื่องจากลายมือหรือรูปแบบของรายงานเพราะจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันไป
5. การจัดบัญชีรายรับ รายจ่าย ตัวเลขอาจจะตกหล่น ไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
แผนกบุคคล  มีหน้าที่ดังนี้
-การจัดสรรหา พนักงานเข้ามาทำงานให้เหมาะสมตามความต้องการขององค์หรือแต่ละแผนก และการทำสัญญาการจ้างทำงานโดยยึดหลักนโยบายของบริษัทและความพึงพอใจของพนักงาน
-การบริหารค่าแรง สวัสดิการ ประกันสังคม  ภาษี
-การจัดทำแผนการอบรมพัฒนา ทำสถิติ ความต้องการในการจัดอบรม การหาและกำหนดตัวของวิทยากรที่ให้ความรู้
-ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ในการปรับค่าจ้าง
-สรุปยอดการปฏิบัติงานของการบริหารงานบุคคลประจำปี
ปัญหาของแผนกบุคคลคือ
1. การจ่ายเงินเดือนพนักงานตกหล่น เพราะสวัสดิการแต่ละคนไม่เท่ากัน
2. ตรวจสอบวันลา หยุด ของพนักงานทำได้ยาก
3. ไม่ทราบเวลาเข้า – ออกของพนักงานเพราะต้องเขียนอย่างเดียวง่ายต่อการปลอมแปลงลายเซ็นต์
ฝ่ายปฎิบัติการ
แผนกงานขาย/การตลาด   มีหน้าที่ดังนี้
- วิเคราะห์  วางแผน   กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พร้อมทั้งรายชื่อ ลูกค้าเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม และกำหนดเป้ายอดขาย ในแต่ละกลุ่มลูกค้า ที่มีความเป็นไปได้ ให้กับฝ่ายขายไปดำเนินการ
- วิเคราะห์ วางแผน จัดการ ให้มีการส่งเสริมการขาย ด้วยการวางแผน เข้าร่วม โครงการ กิจกรรม การประกวดผลงาน หรือผลิตภัณฑ์ ที่หน่วยงานหรือองค์กร ต่างๆจัดให้มีขึ้น ในแต่ละปี
- วิเคราะห์ วางแผน และดำเนินการสร้าง สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์  และ เผยแพร่ โฆษณา PR ไปยังสื่อต่างๆ
- วิเคราะห์ วางแผน กำหนดเป้าหมาย  และดำเนินการสร้าง ตัวแทนจำหน่ายและ ผู้สร้างระบบ(Implementor) ในแต่ละช่องทางจัดจำหน่าย สำหรับลูกค้า กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ได้ยอดขายตามที่กำหนด
ปัญหาของแผนกขายคือ
1. เอกสารมีจำนวนมาก  ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ  ซึ่งมีเอกสารดังนี้
                                1.1  เอกสารข้อมูลลูกค้า
                                1.2  เอกสารข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า
                                1.3  เอกสารเกี่ยวกับสินค้า
2. ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน  เนื่องจากลูกค้า 1 ท่านมาซื้อสินค้าหลายครั้ง  แต่พนักงานขายก็เก็บข้อมูลทุกครั้ง  ทำให้มีเอกสารซ้ำซ้อน
3. ข้อมูลมีความแตกต่าง  เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลงเช่น  เบอร์โทรศัพท์  ที่อยู่  เพราะลูกค้าอาจจะมีเบอร์โทรศัพท์หลายเบอร์และมีการย้ายสถานที่อยู่เรื่อย  ๆ
4. เป้าหมายของบริษัทไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
               
ฝ่ายธุรการ
แผนกประชาสัมพันธ์  มีหน้าที่ดังนี้
- ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายในของบริษัท รับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าและพัฒนา และติดตามลูกค้าทางโทรศัพท์และทางจดหมายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบข่าวสารของบริษัทปัญหาของแผนกประชาสัมพันธ์คือ
1. การติดต่อสื่อสารขัดข้องเพราะลูกค้ามีจำนวนมากและบางครั้งลูกค้าได้มีการ เปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่แจ้งให้ทราบทำให้ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้
2. สื่อสารกับลูกค้าไม่เข้าใจ
แผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ มีหน้าที่
- ดูแลความเรียบร้อยและตรวจเช็คสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า รวมทั้งสั่งซื้อสินค้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้า
- สรรหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพตามความต้องการของฝ่ายต่างๆ ภายในบริษัท เพื่อมาใช้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
- Support หน่วยงานต่างๆ ให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้ โดยต้องทำการเปรียบเทียบราคาของวัตถุดิบจาก Supplier หลายๆ เจ้า
- เลือกซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพในราคาที่ต่ำ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
ปัญหาของแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ
1.ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
2. ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
3. ข้อมูลสินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวนสินค้ามากเกินไป เนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร
4. การสต็อกสินค้าไม่เพียงพอ
5. จัดหาวัตถุดิบไม่ได้ตามความต้องการของฝ่ายต่างๆ
6.วัตถุดิบบางตัวมีราคาค่อนข้างสูงทำให้ไม่ต้องตามเป้าหมายที่วางไว้
ฝ่ายโรงงาน
แผนกผลิตสินค้า มีหน้าที่ดังนี้
                มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามนโยบายและหน้าที่ที่มอบหมาย สามารถทำงานกับเครื่องจักรได้เบื้องต้น พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้เบื้องต้น และต้องเข้าใจถึงกระบวนการการทำงานในแผนกนั้นๆ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเอง รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างานได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างกระบวนการผลิต
ปัญหาของแผนกผลิตสินค้า
1. มีของเสียในกระบวนการผลิตมาก
2. แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
3. มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน
4. มีปริมาณของในกระบวนการผลิตสูงขึ้น
5. มีการส่งวัตถุดิบช้าเมื่อเกิดความล่าช้า ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบ
แผนกควบคุมคุณภาพ มีหน้าที่ดังนี้
                รับผิดชอบในการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและวัตถุดิบแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามมาตรฐานเรื่องคุณภาพที่บริษัทกำหนด โดยร่วมกำหนดมาตรฐานคุณภาพสินค้ากับผู้บังคับบัญชา และให้ความสำคัญกับ กระบวนการตรวจสอบสินค้าทุกระบวนการผลิต เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนถึงมือลูกค้า
ปัญหาของแผนกควบคุมคุณภาพ
1. สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
2. มีการตรวจสอบที่ผิดพลาด

ปัญหาระหว่างแผนกที่เกี่ยวข้องกัน
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกบุคคล 
- แผนกบัญชีไม่รู้ว่าค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้พนักงานในแต่แผนก เป็นจำนวนเงินเท่าไรเพราะแต่ละแผนกให้ค่าจ้างพนักงานไม่เหมือนกัน
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกงานขาย/การตลาด
-  แผนกบัญชีทำรายการขายสินค้าผิดเนื่องจากแผนกขาย/การตลาดสรุปยอดสินค้าผิด
 - แผนกบัญชีไม่สามารถสรุปยอดการขายได้เนื่องจากแผนกการขาย/การตลาดไม่สรุปยอดการขายส่งแผนกบัญชี
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกประชาสัมพันธ์
- แผนกบัญชีไม่สามารถจ่ายเงิน หากประชาสัมพันธ์ไม่แจ้งยอดของบประมาณในการ ประชาสัมพันธ์ให้แก่แผนกบัญชี
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ
- แผนกบัญชีไม่สามารถจ่ายเงินให้แก่แผนกคลังสินค้าได้ หากแผนกคลังสินค้าไม่แจ้งของบประมาณในการจัดซื้อให้แก่แผนกบัญชี
ปัญหาระหว่างแผนกบุคคลกับแผนกบัญชี
- บุคคลได้รับเงินไม่ครบถ้วนหากแผนกบัญชีจ่ายเงินมาไม่ตรงกับจำนวนชั่วโมงการทำงาน
ปัญหาระหว่างแผนกบุคคลกับแผนกการขาย/การตลาด
- พนักงานไม่เพียงพอกับกับจำนวนสินค้าที่ต้องการเสนอขายแก่ลูกค้า
- พนักงานไม่มีทักษะในด้านการขาย/การตลาด
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกบุคคล
- พนักงานขายสินค้าไม่ตรงกับที่แผนกขายตั้งราคาไว้
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกประชาสัมพันธ์
-แผนกการขายอาจจะมียอดขายต่ำ หากไม่ได้รับประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมและทั่วถึง
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ
- แผนกการขายจะไม่สามารถขายสินค้าได้ หากสินค้าในคลังหมดและไม่แจ้งให้แผนกการขายทราบ
- หากแผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า แผนกการขายก็จะไม่ทราบว่าจำนวนสินค้าว่าเพียงพอกับการขายหรือไม่
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกผลิตสินค้า
- แผนกการขายไม่มีสินค้าที่จะจำหน่ายเนื่องจากแผนกการผลิตผลิตสินค้าได้ล่าช้า
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกควบคุมคุณภาพ
- สินค้าที่จะนำมาขายไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการขาย
ปัญหาระหว่างแผนกประชาสัมพันธ์กับแผนกบัญชี   
- แผนกประชาสัมพันธ์ไม่มีงบประมาณในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เนื่องจากแผนกบัญชีไม่จ่ายเงินงบประมาณ
ปัญหาระหว่างแผนกประชาสัมพันธ์กับแผนกการขาย/การตลาด
- แผนกประชาสัมพันธ์ไม่รู้ข้อมูลในการประชาสัมพันธ์เนื่องจากแผนกการขายไม่ส่งขอมูลในการประชาสัมพันธ์
ปัญหาระหว่างแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อกับแผนกบัญชี
- แผนกคลังสินค้ามีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการจัดซื้อเนื่องจากแผนกบัญชีไม่จ่ายเงิน
ปัญหาระหว่างแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อกับแผนกการขาย/การตลาด
- แผนกการขายไม่แจ้งยอดสินค้าให้หับแผนกคลังสินค้าทำให้แผนกคลังสินค้าไม่ทราบจำนวนสินค้า
ปัญหาระหว่างแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อกับแผนกผลิตสินค้า
- แผนกผลิตสินค้าผลิตสินค้าล่าช้าทำให้คลังสินค้ามีสินค้าไม่เพียงพอในการสต็อกสินค้า
ปัญหาระหว่างแผนกผลิตสินค้ากับแผนกการขาย/การตลาด
- แผนกการขายไม่แจ้งจำนวนสินค้าให้แก่แผนกผลิตทำให้แผนกผลิตไม่ทราบจำนวนของที่เหลืออยู่
ปัญหาระหว่างแผนกผลิตสินค้ากับแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ
- แผนกคลังสินค้าไม่แจ้งยอดสินค้าที่ต้องการ
- แผนกคลังสินค้าไม่จัดซื้อวัตถุดิบในการผลิตให้แก่แผนกผลิตสินค้า
ปัญหาระหว่างแผนกควบคุมคุณภาพกับแผนกการขาย/การตลาด
- แผนกการขายนำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาวางขาย

สรุปปัญหาทั้งหมดของบริษัท
1.ข้อมูลอาจเกิดข้อผิดพลาดในการคิดบัญชีรายรับ รายจ่ายได้
2.ข้อมูล อาจเกิดการผิดพลาดได้ถ้าเอกสารไม่ถูกต้องหรือเอกสารสูญหายเพราะเอกสารมี จำนวนมากและไม่มีการจัดเก็บให้เป็นระเบียบเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้ม เอกสาร  เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3.รายงานทางการเงินที่ทำโดยมือจะทำให้เข้าใจได้ยาก เนื่องจากลายมือหรือรูปแบบของรายงานเพราะจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันไป
4.การจัดบัญชีรายรับ รายจ่าย ตัวเลขอาจจะตกหล่น ไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
5.การจ่ายเงินเดือนพนักงานตกหล่น เพราะสวัสดิการแต่ละคนไม่เท่ากัน
6.ตรวจสอบวันลา หยุด ของพนักงานทำได้ยาก
7.ไม่ทราบเวลาเข้า – ออกของพนักงานเพราะต้องเขียนอย่างเดียวง่ายต่อการปลอมแปลงลายเซ็นต์
8.เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้การจัดเก็บไม่เป็น
9.ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน เนื่องจากลูกค้า 1 ท่านมาซื้อสินค้าหลายครั้ง แต่พนักงานขายก็เก็บข้อมูลทุกครั้ง ทำให้มีเอกสารซ้ำซ้อน
10.ข้อมูลมีความแตกต่าง เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลงเช่น เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ เพราะลูกค้าอาจจะมีเบอร์โทรศัพท์หลายเบอร์และมีการย้ายสถานที่อยู่เรื่อย ๆ
11.เป้าหมายของบริษัทไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
12.การ ติดต่อสื่อสารขัดข้องเพราะลูกค้ามีจำนวนมากและบางครั้งลูกค้าได้มีการ เปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่แจ้งให้ทราบทำให้ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้
13.สื่อสารกับลูกค้าไม่เข้าใจ
14.ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
15.ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
16.ข้อมูล สินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวนสินค้า มากเกินเนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร
17.การสต็อกสินค้าไม่เพียงพอ
18.จัดหาวัตถุดิบไม่ได้ตามความต้องการของฝ่ายต่างๆ
19.วัตถุดิบบางตัวมีราคาค่อนข้างสูงทำให้ไม่ต้องตามเป้าหมายที่วางไว้
20.มีของเสียในกระบวนการผลิตมาก
21.แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
22.มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน
23.มีปริมาณของในกระบวนการผลิตสูงขึ้น
24.มีการส่งวัตถุดิบช้าเมื่อเกิดความล่าช้า ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบ
25.สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
26.มีการตรวจสอบที่ผิดพลาด

ปัญหาและความเกี่ยวข้องกับระบบงาน
.



ระบบงานที่ต้องการพัฒนา

1. ระบบงานขาย/การตลาด
2. ระบบงานบัญชี
3. ระบบคลังสินค้า /จัดซื้อ

การประเมินความต้องการของบริษัท   
ตารางแสดงรายการ การทำงาน (Functions) หรือกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดขององค์กร



แสดงการจำแนกกิจกรรม(Activites)  ของหน้าที่ของการทำงาน (Functions) ในบริษัท



รูปที่  2  แสดงการจำแนกกิจกรรม(Activites)  ของหน้าที่ของการทำงาน (Functions) ในบริษัท



แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Function-to-Data Entities)



ตารางที่  1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์ในการตัดสินใจ
1. เพิ่มจำนวนลูกค้า
2. สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
3. เพิ่มภาพลักษณ์ให้กับบริษัท
4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5. เพิ่มผลกำไร

1 ความคิดเห็น:


  1. ขอรับบริจาคนม UHT หรือนมผงเด็ก ช่วยเด็กที่พ่อแม่ตกงาน

    ตอนนี้ดิฉันเป็นศูนย์กลางการส่งอาหาร ข้าวกล่อง
    นมผงเด็ก นมยูเอชที ให้กับกลุ่มแม่ลูกอ่อน
    แม่ ๆ เด็ก และคนชรา ที่หัวหน้าครอบครัวตกงาน
    ในนามของกลุ่มพิทักษ์แม่ลูกอ่อน

    ในชุมชนคอนโดเมืองทองธานี ซึ่งมีคอนโด 23 อาคาร
    อาคารละ 14-16 ชั้น มีประชากรจำนวนมาก
    เป็นชุมชนใหญ่มาก มีความเลื่อมล้ำสูง
    ทั้งคนฐานะปานกลาง จนถึงแรงงานรายวัน


    ดิฉันทำสิ่งนี้มาเดือนเศษแล้ว
    กำลังเริ่มไม่ไหว พยายามสู้สุดชีวิต
    ช่วยจนสิ่งของเริ่มร่อยหรอ
    แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ปกติ
    พ่อแม่หลายคนยังคงไม่ได้ทำงาน
    ตกงานและยังไม่มีเงินซื้อนมให้ลูกกิน

    จึงอยากขอให้ผู้ใจดี สั่งนม UHT
    หรือนมผงเด็ก มาช่วยเป็นกำลังใจให้พวกเขา
    ได้ก้าวผ่านความยากลำบากนี้ไปได้ ให้เด็กไม่หิว
    ส่งมาที่ชุมชนแห่งนี้
    ที่ครูถือศีล ดิฐวัฒน์โยธิน
    9/736 อาคาร T8 ถ.ป๊อบปูลาร์ ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จ นนทบุรี 11120
    หมายเลขโทรศัพท์ 089-7-456-111

    ตอบลบ